วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 14 วันพุธ ที่2 พฤษภาคม พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้เป็นวันสอนชดเชย  อาจารย์ให้แต่ละคู่ออกมานำเสนอวีดีโอที่นำสื่อที่ทำจากแผงไข่ให้เด็กทดลองเล่น แล้วอัดวีดีโอบันทึกพฤติกรรมเด็กตอนเล่นสื่อ


           หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษานำเสนอบทความ วิจัย สื่อการสอนคณิตศาสตร์เพิ่มเติมต่อ คนที่ยังไม่ได้นำเสนอ


  • นางสาว สุพรทิพย์ ดำขำ นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

  • นางสาว อริสา กุณารบ นำเสนอวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

  • นางสาว สุภาลักษณ์ คะเชนหาญ นำ้เสนอบทความเทคนิคสอนลูกง่ายนิดเดียว

  • นางสาว วรรณภา ผังดี นำเสนอการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

  • นางสาว จุฬารัตน์ เปี่ยมวารี นำเสนอวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน



ครั้งที่ 13 วันพุธ ที่25 เมษายน พ.ศ. 2561

ความรู้ที่ได้รับ

 วันนี้อาจารย์ให้นำผลงานมาส่งและให้จัดนิทรรศการโชว์ผลงานของนักศึกษาทุกคนในห้องเรียน


สื่อการสอนของนักศึกษาทุกคน


         หลังจากนั้นอาจารย์ได้สั่งให้ไปทำแผ่นพับกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ผู้ปกครองสามารถทำร่วมกับเด็กภายในชีวิตประจำวันได้มาส่งอาทิตย์หน้า




ครั้งที่ 12 วันพุธ ที่18 เมษายน พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้อาจารย์ให้นำสื่อมาดูความคืบหน้าของสื่อว่าเป็นยังไงบ้าง นำมาอธิบายหน้าห้องให้อาจารย์และเพื่อนๆ ได้ฟังกัน เกี่ยวกับวิธีการเล่น ประโยชน์ เป็นต้น 



หลังจากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนๆ นำเสนอบทความ วิจัย และสื่อการสอนคณิตศาสตร์ต่อจากครั้งที่แล้ว


  • นางสาว ปิยธิดา ประเสริฐสังข์ พรีเซนสื่อการสอนเรื่องการนับตัวเลขจากสิ่งต่างๆรอบตัว

  • นางสาว อินทิรา หมึกสี พรีเซนวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

  • นางสาว ปริชดา นิราศรพจรัส นำเสนอบทความเรื่อง  นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์

  • นางสาว ชนนิกาน วัฒนา นำเสนอบทความเรื่อง"ดีจริงหรือที่เร่งอ่าน เขียน คณิตในอนุบาล"


ครั้งที่ 11 วันพุธ ที่4 เมษายน พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ


  • นางสาว สุดารัตน์ อาสนามิ ได้พรีเซนวิจัยต่อจากครั้งที่แล้ว


         หลังจากนั้นอาจารย์ก็ดูความคืบหน้าของสื่อแต่ละคน ให้คำแนะนำ แก้ไข ในการนำไปปรับใช้กับสื่อของตนเอง 


บรรยากาศภายในห้องเรียน


ครั้งที่ 10 วันพฤหัสบดี ที่29 มีนาคม พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ


  • นางสาว จิรนันท์ ไชยชาย นำเสนอวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
       การจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน ทำให้เด็กได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         - การเปรียบเทียบ
         - การจัดหมวดหมู่
         - การเรียงลำดับ
         - การรู้ค่าจำนวน




  • นางสาว ประภัสสร แทนด้วง นำเสนอการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เรื่อง คณิตฯปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล


  • นางสาว สุดารัตน์ อาสนามิ นำเสนอวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

         หลังจากนั้นอาจารย์ให้คิดสื่อทางคณิตศาสตร์ จับคู่ 2 คน คิดสื่อเกี่ยวกับแผงไข่ ทำจากแผงไข่ให้อาจารย์ดูโดยวาดใส่กระดาษและมาอธิบายให้อาจารย์ฟังว่าผ่านหรือไม่



ครั้งที่ 9 วันศุกร์ ที่23 มีนาคม พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้ิอาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย สื่อการสอนคณิตศาสตร์ต่อจากครั้งที่แล้ว
  • นางสาว วัชรา   ค้าสุกร นำเสนอ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ หลังจากที่อาทิตย์ที่แล้วโดนแก้


อาจารย์ให้ข้อติในคลิปวีดิโอว่า ขั้นนำที่ให้เด็กร้องเพลงและเต้น ซึ่งไม่ได้มีเนื้อหาหรือส่วนเกี่ยวกับหมวดการเรียน และการนำเข้าสู้ขั้นสอนยังไม่ถูกต้อง ในคลิปวีดิโอสื่อการสอนเรื่องการเปรียบเทียบควรหาวิธีการเปรียบเทียบที่ชัดเจนกว่านี้

  • นางสาว ทิพย์วิมล นวลอ่อน  นำเสนอ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ชื่อวีดีโอ ครูมืออาชีพ - คณิตในชีวิตประจำวัน1/5

       ในคลิปเป็นการสอนคณิตศาสตร์จากประเทศอังกฤษ โดยเขาจะเชื่อมโยงกับการใช่ภาษากายในการเรียนรู้ ทำให้เด็กสนุกกับการเรียนไม่น่าเบื่อ ให้เด็กกล้าแสดงออก และสนุกสนานกับการเรียนรู้ในห้องเรียน ทำให้เกิดความสนใจ อยากรู้อยากเห็นในการเรียนรู้ 

  • นางสาว สุชัญญา บุญญะบุตร นำเสนอบทความ เรื่อง เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม


         พ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญในการปลุกฝั่งคณิตศาสตร์กับเด็ก แต่ก็ไม่ควรให้เด็กเรียนหนักจนเกินไปให้เด็กค่อยๆเรียนรู้ไปเรื่อยๆตามพัฒนาการของเด็ก

  • นางสาว กฤษณา กบขุนทด

นำเสนอการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยการสาธิตการสอนเรื่องการนับจำนวน

            
           หลังจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้วาดตาราง 10 x 10 แล้วแร่เงาเป็นรูปทรงต่างๆ ตามความคิดของตนเอง ไม่ให้รูปทรงติดกันเกินไปตจนไม่สามารถแยกได้

           ต่อจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาอีกครั้งคนละ 1 แผ่น ให้พับครึ่งแล้วตัดเป็นรูปอะไรก็ได้ ตามความคิดอิสระของตนเอง แล้วตัดนำมาวางหน้าห้อง อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่รูปต่างๆของเพื่อนๆ ที่ตนเองได้ไป ซึ่งสอนในเรื่องของความน่าจะเป็น


นี่คือผลงานของเพื่อนๆในห้องเรียน




ครั้งที่ 8 วันศุกร์ ที่16 มีนาคม พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ิอาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย สื่อการสอนคณิตศาสตร์ต่อจากครั้งที่แล้ว
  • นางสาว วัชรา   ค้าสุกร นำเสนอ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ หลังจากที่อาทิตย์ที่แล้วโดนแก้


ชื่อวิดีโอ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ( การเรียนรู้การนับจำนวน ) ชั้นอนุบาล1/1 แต่กลับไปโดนแก้ไขใหม่


กรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์
ครั้งที่ 7 วันพุธ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัยและสื่อการสอนต่อจากครั้งที่แล้ว 
  • นางวัชรา   ค้าสุกร  นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง สื่อการสอนคณิตคิดสนุก แต่ไม่ผ่านต้องกลับไปแก้ไขใหม่มานำเสนอในครั้งหน้า


  • นางสาว เพ็ญประภา บุญมา นำเสนอบทความเรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลุกวัยอนุบาล



      คณิตศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานวิชาหรือพื้นฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอื่นๆ ซึ่งคุณต้องเข้าใจว่า ‘คณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวเลข’ แต่คณิตศาสตร์เป็นตรรกะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาได้อย่างมีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในชีวิต


  • นาย ปฏิภาณ จินดาดวง นำเสนอวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมการเพาะปลูก


     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมการเพาะปลูกพืช



    ครั้งที่ 6 วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

    ความรู้ที่ได้รับ

               วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง พัฒนาการของเพียเจย์ได้แบ่งความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ตามพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
    1. ความรู้ทางด้านกายภาพ
    2. ความรู้ด้านเหตุผลคณิตศาสตร์
      นอกจากนั้นอาจารย์ยังพูดเรื่อง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 12 ข้อ ดังนี้
    1. การนับ (Counting)
    2. ตัวเลข (Number)
    3. การจับคู่ (Matching)
    4. การจัดประเภท (Classification)
    5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
    6. การจัดลำดับ (Ordering)
    7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
    8. การวัด (Measurement)
    9. เซต (Set)
    10. เศษส่วน (Fraction)
    11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
    12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)
    หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้การบ้านนักศึกษาไปหาตัวอย่าง ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยลงบล็อก ดังนี้
    1. การนับ  เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 ถึง 10 
    2. ตัวเลข เช่น การสอนบวก ลบ คูณ หาร
    3. การจับคู่ เช่น จับคู่สิ่งของที่ตรงข้ามกัน หรือเหมือนกัน เช่น จับคู่หมวดสัตว์ ผลไม้
    4. การจัดประเภท เช่น การจัดประเภทของใช้ อาหาร เป็นต้น
    5. การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบความสูง
    6. การจัดลำดับ เช่น เรียงสิ่งของที่มีจำนวนน้อยไปหามาก หรือ มากไปหาน้อย
    7. รูปทรงและเนื้อที่  เช่น การบอกชื่อรูปทรงเรขาคณิตศาสตร์
    8. การวัด เช่น ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก 
    9. เซต 
    10. เศษส่วน เช่น การแบ่งน้ำในสัดส่วนต่างๆ
    11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เช่นการฉีก ตัด แปะกระดาษตามรูปทรงที่กำหนด
    12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ เช่น ให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริง เด็กได้มีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า จะย้ายที่หรือทําให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

    ครั้งที่ 5 วันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

    ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัยและสื่อการสอนที่ตนเองได้ในหัวข้อนั้นๆ 
    • คนแรก นางสาว รุ่งฤดี   โสดา ออกมานำเสนอบทความเกี่ยวกับการให้เด็กได้ลงมือทำ ควรให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตนเอง เช่น ชีวิตประจำวันของตนเอง และในการเรียนการสอนไม่ควรทำให้เด็กเครียดมากเกินไป ควรเรียนด้วยบรรยากาศที่สบาย เป็นกันเอง จะทำให้เด็กไม่เครียดและพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
    • คนที่ 2 นางสาว รัตนา   พงษา ออกมานำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนาโดยสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมคณิตศาสตร์ โดยผู้สอนควรวิเคราะห์ในเรื่องของแต่ละช่วงอายุ พัฒนาการของเด็ก และในช่วงวัยนี้ควรเรียนหรือสนันสนุนในด้านใดของเด็ก หลังจากนั้นลงมือปฏิบัติการสอน ทำการเปรียบเทียบก่อนการสอนและหลังการสอนว่าเด็กเรียนรู้อะไร มีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นหรือไม่ เด็กได้อะไรจากการเรียนรู้ 


            หลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษให้กับนักศึกษาคนละ 1 แผ่น และให้นักศึกษาช่วยกันคิดสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถทำให้เป็นประโยคสัญลักษ์ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง ต่อมาอาจารย์ก็จัดกิจกรรมการสอนทางคณิตศาสตร์ โดยแบ่งกระดานเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งส้มตำ กับ ฝั้งลาบไก่ โดยให้นักศึกษาออกไปเลือกสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ แล้วมาเปรียบเทียบว่าอาหารประเภทไหนมากกว่าหรือน้อยกว่า



                 หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาเขียนคนเราใช้คณิตศาสตร์ทำอะไรบ้างในชีวิตประจำวันของตนเอง โดยให้นักศึกษาคิดและเขียนลงไปในกระดาษ ต่อจากนั้นอาจารย์ก็พาทำกิจกรรมสุดท้าย คือ อาจารย์จะเปิดเพลงให้ฟังแล้วให้นักศึกษาทำสัญลักษณ์ขึ้นเป็นของตนเอง แทนจังหวะการตบมือตามความเข้าใจของตนเอง



    ครั้งที่ 4 วันพุธ ที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561

    ความรู้ที่ได้รับ

             วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้กับนักศึกษาคนละ 1 แผ่น กระดาษเหลือ 2 แผ่น แสดงว่ากระดาษมีจำนวนมากกว่าจำนวนนักศึกษา อาจารย์สอนเรื่องใกล้ตัวให้กับนักศึกษาในเรื่องของจำนวนมากกว่าน้อยกว่าจากกระดาษที่แจก ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาพับกระดาษแบ่งครึ่งแบบใดก็ได้ ในการพับกระดาษนักศึกษาทุกคนพับแตกต่างกันออกไป แสดงให้เห็นว่า คนเรามีความคิดที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันออกไปตามความคิดของตนเอง


                   หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าความหมายของพัฒนาการ คือ อะไร ให้นักศึกษาช่วยกันแสดงความคิดเห็นของตนเอง จนได้คำตอบที่ถูกต้อง

                   พัฒนาการ คือ การแสดงออกตามความสามารถในแต่ละช่วงอายุ เปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง


                   บิดาการศึกษาปฐมวัยคือ บรูเนอร์
        
     คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
    1. Assimilation  ซึมซับ
    2. Accommodation  การปรับเป็นความรู้ใหม่

    สื่อการสอนคณิตศาสตร์




    ชื่อวีดิโอ
             ทักษะการวัดสำหรับเด็กปฐมวัย

    สรุป
             ในคลิปวีดิโออาจารย์จะในหมวดผลไม้และมีตราชั่งไว้สำหรับแขวนผลไม้สองข้าง เพื่อเปรียบความต่างของน้ำหนักผลไม้ เช่น คุณครูหยิบสตอเบอร์รี่กับแอปเปิ้ลขึ้นมาให้เด็กๆได้ดู เรื่องของขนาด หลังจากนั้นคุณครูทำการแขวนผลไม้ทั้งสองฝั่ง ปรากฏว่าสตอเบอร์รี่ถูกยกขึ้น ส่วนแอปเปิ้ลต่ำลง เด็กจะเห็นได้ว่าแอปเปิ้ลมีน้ำหนักที่มากกว่าสตอเบอร์รี่จากการมองตราชั่ง

    อ้างอิง

    งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์

    ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

    ผลการจัดประสบการณ์การเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
    ที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย


    สรุป
           จากการสังพฤติกรรมการเรียนแบบร่วมมือด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนปฐมวัย บางกลุ่มยังสับสน มีความไม่มั่นใจ แต่เมื่อได้ใช้ไปสักระยะหนึ่งนักเรียนเริ่มคุ้นเคยกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นักเรียนทั้งกลุ่มมีความร่วมมือกัน มีความมั่นใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และสนุกสนานกับการเรียน และมีบทฝึกหัดท้ายบทลักษณะเกมทำให้เกิดความรู้สึกมีความสนใจอยากเรียน

    อ้างอิง

    ครั้งที่ 3 วันพุธ ที่ 24 มกราคม พ.ศ.2561

    ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้อาจารย์ไม่อยู่ แต่สั่งงานไว้ให้นักศึกษาได้ทำในคาบ คือ คิดสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคนละ 1 ชิ้น ให้วาดรูปสื่อชิ้นนั้น อธิบายรายละเอียดในส่วนต่างๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ วิธีการเล่น เป็นต้น ใส่ลงในกระดาษ


    บรรยากาศภายในห้องเรียน

    ครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2561

    ความรู้ที่ได้รับ

               วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียน Mind Mapping สรุปจากใบอธิบายรายวิชาที่อาจารย์เคยแจกให้ไปกับนักศึกษาครั้งที่แล้ว หัวข้อ คือ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีหัวข้อย่อยออกมา ดังนี้ 1. ประสบการณ์  2.คณิตศาสตร์  3.เด็กปฐมวัย 




            หลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษอีกครั้ง เป็นกระดาษแผ่นเล็กให้นักศึกษาเขียนชื่อเล่นของตัวเองลงไปในกระดาษ ตกแต่งหรือสร้างสรรค์ชื่อให้ออกมาสวยงาม หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกไปติดชื่อที่กระดาน โดยบนกระดานจะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งแรกเป็นคนที่ตื่นก่อน 8 โมง ฝั่งที่ 2 เป็นฝั่งคนที่ตื่นหลัง 8 โมง อาจารย์กำลังจะสอนในเรื่องของมากกว่าน้อยกว่า การนับจำนวน



    วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

    ครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2561

    ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้เป็นวันคาบแรกที่ได้พบอาจารย์ อาจารย์อธิบายรายละเอียดของวิชานี้ อธิบายรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับนักศึกษาได้ฟังกัน หลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกใบอธิบายรายวิชาให้กับนักศึกษาทุกคน


    อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดในส่วนของบล็อคว่าควรมีอะไรบ้าง เช่น ชื่อและคำอธิบายบล็อค รูปและข้อมูลผู้เรียน เป็นต้น 



    บทความเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์

    ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

    สรุป

            การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม  คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา  ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข  จำนวน  รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท  ฯลฯ  เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)  การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัวเลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ)  ฯลฯ

    อ้างอิง



    กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย